ทำความรู้จัก 7 พลาสติกรีไซเคิลได้

367726106_816445790007675_4481188797374433860_n

ทำความรู้จัก 7 พลาสติกรีไซเคิลได้

หลายคนคงพอจะทราบว่า ท่อ PVC และท่อ HDPE มีพลาสติกเป็นส่วนผสม แต่รู้หรือไม่ว่ามันสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ด้วย โดยเข้าสู่กระบวนการผลิตกลับมาเป็นข้าวของเครื่องใช้ใหม่ได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 7 ประเภท โดยเรียงตามหมายเลข 1 ถึง 7 แล้วแต่ละเลข คือพลาสติกประเภทไหน? ต่างกันอย่างไร? เราจะนำความรู้มาแบ่งปันในโพสต่อๆไปค่ะ

1.โพลิเอทธิลีนเทเรฟทาเลต (Poly (ethylene terephthalate), PET)
PET ทนต่อแรงกระแทก เนื้อเหนียว ไม่เปราะแตกง่าย สามารถทำให้ใสมาก มองเห็นสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน และมีคุณสมบัติในการผ่านของของเหลวและก๊าซได้ดี จึงนิยมใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำมันพืช และเป็นบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง นอกจากนี้ขวด PET ยังมีสมบัติป้องกันการแพร่ผ่านของก๊าซได้เป็นอย่างดี จึงใช้เป็นภาชนะบรรจุน้ำอัดลม

2.โพลิเอทธิลีนความหนาแน่นสูง (High density polyethylene, HDPE)
HDPE โพลิเอทธิลีนชนิดหนาแน่นสูง ทำให้แข็งแรง ไม่แตกง่าย ทนกรดและด่าง ส่วนใหญ่ทำให้มีสีสันสวยงาม ยกเว้นขวดที่ใช้บรรจุน้ำดื่ม ซึ่งจะขุ่นกว่าขวด PET ราคาถูกขึ้นรูปได้ง่าย จึงนิยมใช้ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด แชมพูสระผม แป้งเด็ก และถุงหูหิ้ว นอกจากนี้ภาชนะที่ทำจาก HDPE ยังมีคุณสมบัติป้องกันการแพร่ผ่านของความชื้นได้ดี จึงใช้เป็นขวดนมเพื่อยืดอายุของนมให้นานขึ้น บรรจุภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 2 สามารถนำกลับมารีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นขวดต่างๆ เช่น ขวดใส่น้ำยาซักผ้า ขวดน้ำมันเครื่อง หรือลังพลาสติก เป็นต้น

3.โพลิไวนิลคลอไรด์ (Poly (vinyl chloride), PVC) PVC
มีคุณสมบัติเป็นพลาสติกใสที่มีความแข็งแรงมาก ป้องการซึมผ่านของไขมันได้ดี นิยมใช้ทำท่อน้ำประปา แต่สามารถทำให้นิ่มโดยใส่สารพลาสติกไซเซอร์ ใช้ทำสายยางใส ฉนวนหุ้มสายไฟ แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร ม่านในห้องอาบน้ำ แผ่นกระเบื้องยาง แผ่นพลาสติกปูโต๊ะ ขวดใส่แชมพูสระผม PVC เป็นพลาสติกที่มีสมบัติหลากหลาย สามารถนำมาใช้ผลิตผลิตภัณฑ์อื่นได้อีกมากมาย PVC สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 3 สามารถนำกลับมารีไซเคิล เป็นท่อประปาสำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก เป็นต้น

4.โพลิเอทธิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low density polyethylene, LDPE)
LDPE เป็นพลาสติกที่นิ่ม โปร่งแสง สามารถยืดหยุ่นตัวได้มาก แต่ไม่ทนความร้อน สามารถใช้ผลิตเป็นฟิล์มสำหรับห่ออาหารและห่อของ และถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร เป็นต้น
LDPE สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 4 สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว หรือถังขยะ

5.โพลิโพรพิลีน (Polypropylene, PP)
PP เป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบาที่สุด แต่มีความแข็งแรง เหนียว คงรูปทรงได้ดี ทนความร้อน ทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ทำให้มีสีสันสวยงามได้ มักใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ถ้วย จาน ถัง ตะกร้า หรือหลอดดูดน้ำ
PP สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 5 สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่รถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น ไฟท้าย กันชน และกระถางต้นไม้พลาสติก ได้เป็นต้น

6.โพลิสไตรีน (Polystyrene, PS)
PS เป็นพลาสติกที่มีความโปร่งใส เปราะบาง แตกได้ง่าย แต่ทนต่อกรดและด่าง และราคาถูก นิยมนำมาทำเป็นภาชนะบรรจุของใช้ เช่น เทปเพลง สำลี หรือเป็นภาชนะบรรจุของแห้ง เนื่องจาก PS เปราะและแตกง่าย จึงไม่นิยมนำพลาสติกประเภทนี้มาบรรจุของที่มีน้ำหนัก เช่นน้ำดื่ม แชมพู โลชั่น เพราะอาจลื่นตกแตกได้ แต่จะนำพลาสติกประเภทนี้มาใช้ทำภาชนะหรือถาดโฟมสำหรับบรรจุอาหาร
PS สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 6 สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็น แผงสวิตช์ไฟ ถาดใส่ไข่ไก่ ไม้แขวนเสื้อ ไม้บรรทัด หรือ ของใช้อื่นๆ

7.พลาสติกอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 6 ชนิดแรก หรือไม่ทราบว่าเป็นพลาสติกชนิดใด
เป็นพลาสติกที่มีไม่ได้มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่เป็นพลาสติกชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 6 ชนิดแรก แต่เป็นที่พลาสติกที่สามารถนำมาหลอมใหม่หรือรีไซเคิลได้ ปัจจุบันเรามีพลาสติกหลายชนิดให้เลือกใช้ การมีสัญลักษณ์ตัวเลข ทำให้เราสามารถแยกพลาสติกออกเป็นชนิดต่างๆ เพื่อนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้ง่ายขึ้น
สำหรับพลาสติกในกลุ่มที่ 7 ก็สามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้ เช่น โพลิคาร์บอเนต (Polycarbonate, PC)


บริษัท ไทยวินิเทค (2002) จำกัด เป็นผู้ผลิตท่อที่ได้นำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้ในระบบการผลิต เพื่อตอบรับความต้องการของลูกค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี ตั้งแต่ปี 2538 บริษัทฯ ได้พัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพผลิตภัณฑ์ท่อ ภายใต้เครื่องหมายการค้า THAI VINYTECH (2002) จนเป็นที่ยอมรับ และได้รับความเชื่อถือจากผู้ที่ใช้มานานกว่าสองทศวรรษ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Email : info@tvt2002.com
โทร : 081-840-2967 (จ – ศ เวลา 08:00-17:00)
088-639-0555 (24 ช.ม.)
Line : @tvt2002pipe
Facebook : https://www.facebook.com/tvt2002pipe
Website : https://www.tvtpipe.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *