PVC
อายุการใช้งานของท่อพีวีซี (ท่อ pvc) ขึ้นอยู่กับการใช้งานเป็นหลัก โดยหากเลือกใช้ท่อที่มีคุณภาพและติดตั้งโดยไม่โดนแสงแดดตลอด จะสามารถทำให้ใช้งานได้มากกว่า 50 ปี
รังสีอัลตราไวโอเลตจะมีผลต่อท่อพีวีซี ถ้าถูกทิ้งไว้ให้สัมผัสเป็นเวลานานติดต่อกัน โดยรังสีอัลตราไวโอเลตสามารถทำให้สีของท่อพีวีซีจางลง และหากปล่อยไว้นาน อาจมีผลทำให้ท่อเปราะและแตกได้
ท่อพีวีซีแบบแข็งแบ่งออกตามการใช้งานได้ 4 แบบ ได้แก่ ท่อสีฟ้า-สำหรับน้ำดื่มและประปา ท่อสีเหลืองและสีขาว-สำหรับงานร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์ และท่อสีเทา-ใช้ในการเกษตรและอุตสาหกรรม
ท่อพีวีซีมีคุณสมบัติการหดตัวในอุณหภูมิต่ำ เนื่องจากเป็นท่อพลาสติก โดยท่อพีวีซีสามารถติดตั้งและใช้ได้ในอุณหภูมิต่ำสุด -18 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม ในอุณหภูมิที่ต่ำมาก ท่อจะหดตัวและน้ำข้างในมีโอกาสแข็งตัว ทำให้ความแข็งและความต้านแรงดึงของท่อพีวีซีจะเพิ่มขึ้น ทางที่ดีควรใช้งานท่อพีวีซีในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามมาตรฐานกำหนด
ท่อพีวีซีมีคุณสมบัติขยายตัวในอุณหภูมิสูง เนื่องจากเป็นท่อพลาสติก โดยท่อพีวีซีสามารถติดตั้งและใช้ได้ในอุณหภูมิสูงสุดถึง 65 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม ในอุณหภูมิที่สูงมาก ท่อจะมีความต้านแรงกระแทกและการอ่อนตัวของท่อสูง แต่ความต้านแรงดึง ความแข็ง ลดลง และอาจจะเกิดอาการท่องอได้ อีกทั้งในอุณหภูมิที่สูงมาก กาวที่ต่ออาจจะเสื่อมสภาพทำให้เกิดรอยรั่วบริเวณข้อต่อได้ ทางที่ดีควรใช้งานท่อพีวีซีในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามมาตรฐานกำหนด
เนื่องจากตัวท่อพีวีซีชนิดแข็ง ผลิตจากเรซิน PVC ที่มีโมเลกุลที่เล็กมาก มีการเรียงตัวแบบไม่แน่นอน (amorphous) ทำให้น้ำหรือของเหลวชนิดอื่นไม่สามารถซึมผ่านท่อได้ แต่ถ้าหากข้อต่อ หรือ ซีลยางเสื่อมสภาพ อาจมีความเป็นไปได้ที่น้ำหรือของเหลวจะซึมผ่านจุดเหล่านั้นได้
ท่อพีวีซีมีความทนทานต่อสารเคมีได้เป็นอย่างดี ท่อพีวีซีมีความทนทานต่อน้ำมัน ไขมัน แอลกอฮอล์ และสามารถทนสารเคมีจำพวกอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน ได้ดี อย่างไรก็ตาม ท่อพีวีซีไม่เหมาะสำหรับสารเคมีจำพวก อะโรมาติกและคลอรีนไฮโดรคาร์บอน คีโตน สารประกอบไนโตร เอสเทอร์ และไซคลิกอีเทอร์ เป็นต้น หากไม่แน่ใจการใช้งานสามารถปรึกษาทีมเทคนิคของ บริษัท ไทยวินิเทค (2002) จำกัด หรือศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://anyflip.com/lbrus/fqnf/
หลายที่ทั่วโลกรวมถึงไทย นิยมใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรคในระบบน้ำประปา ท่อพีวีซีสามารถทนต่อสารคลอรีนได้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่มีผลกระทบกับท่อ
ท่อพีวีซี มีคุณสมบัติกันการไฟลามในตัวระดับหนึ่งจากโครงสร้างของวัตถุดิบ และหากจะทำให้พีวีซีจะติดไฟจะต้องใช้อุณหภูมิสูงถึง 150 องศาเซลเซียส
ท่อพีวีซีที่ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก 17-2561 จะมีการตรวจสอบควบคุมคุณภาพท่อตามมาตรฐาน โดยมาตรฐานนี้จะควบคุม วิธีการใช้งานของท่อ และ คุณภาพของน้ำที่ไหลผ่าน ซึ่งน้ำจะต้องไม่มีกลิ่น รส และสีเปลี่ยน อีกทั้งต้องไม่มีสารที่เป็นพิษละลายออกมาจนเป็นอันตรายแก่สุขภาพได้ ทำให้มั่นใจได้ว่าท่อที่ผลิตโดย บริษัท ไทยวินิเทค (2002) จำกัด เป็นท่อที่ได้รับมาตรฐานและปลอดภัยสำหรับน้ำดื่ม
ท่อพีวีซีที่ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก 17-2561 ถูกกำหนดให้มีการตรวจสอบปริมาณสารสกัดอย่างเข้มงวด ทำให้มั่นใจได้ว่าท่อที่ผลิตโดย บริษัท ไทยวินิเทค (2002) จำกัด เป็นท่อที่ได้รับมาตรฐาน และไม่มีสารพิษเจือปนอย่างแน่นอน
ตัวเลขบนท่อ PVC บ่งบอกถึง ชื่อยี่ห้อ ขนาดท่อ ชั้นคุณภาพ มาตรฐานอุตสาหกรรม ปีที่ผลิต ตรารีไซเคิล (Recycle) การใช้งาน "ท่อน้ำดื่ม"
HDPE
ท่อ HDPE เป็นสีดำเนื่องจากตัววัตถุดิบมีการผสม carbon black เพื่อให้ท่อ HDPE มีความคงทนต่อแสงอัลตร้าไวโอเลท (UV) ได้และทำให้อายุการใช้งานท่อ HDPE ยาวนานถึง 50 ปี
ท่อ HDPE คาดสีฟ้าบ่งบอกว่าเป็นท่อน้ำ ท่อ HDPE คาดสีเหลืองบ่งบอกว่าเป็นท่อก๊าซ ท่อ HDPE คาดสีแดงบ่งบอกว่าเป็นท่อร้อยสายไฟและสายสัญญาณโทรศัพท์
ค่า PN (pressure nominal) คือความสามารถในการรับแรงดันน้ำ มีหน่วยเป็น บาร์ โดยท่อ HDPE จะผลิตทั้งหมด 10 PN แบ่งออกเป็น PN 3.2, PN 4, PN 6, PN 8, PN 10, PN 12.5, PN 16.5, PN 20 และ PN 25 โดย PN 3.2 รับแรงดันได้ 3.2 บาร์, PN 4 รับแรงดันได้ 4 บาร์, PN 6 รับแรงดันได้ 6 บาร์, PN 8 รับแรงดันได้ 8 บาร์, PN 10 รับแรงดันได้ 10 บาร์, PN 12.5 รับแรงดันได้ 12.5 บาร์, PN 16 รับแรงดันได้ 16 บาร์, PN 20 รับแรงดันได้ 20 บาร์ และ PN 25 รับแรงดันได้ 25 บาร์ โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลและเลือกใช้ท่อเพิ่มเติมได้ที่https://tvtpipe.com/hdpe-pipes/
ค่า PE คือชั้นคุณภาพ เป็นความสามารถในการรับแรงกดทับและความหนาของท่อ คำนวณจากความแข็งแรงขั้นต่ำที่ต้องการ (Minimum Required Strength หรือ MRS) โดยแบ่งออกเป็น PE 80 มีความแข็งแรงขั้นต่ำ 8.0 Mpa และ PE 100 มีความแข็งแรงขั้นต่ำ 10.0 Mpa โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลและเลือกใช้ท่อเพิ่มเติมได้ที่ https://tvtpipe.com/hdpe-pipes
โดยปกติแล้ว ท่อ HDPE สามารถเชื่อมท่อได้ 5 วิธี ได้แก่ Butt fusion หรือ เชื่อมปลายท่อด้วยความร้อน, Electrofusion หรือ เชื่อมปลายท่อด้วยความร้อนจากไฟฟ้า, Compression fittings หรือ ข้อต่อแบบสวมอัด, Socket fusion หรือ ข้อต่อแบบสวมอัดใช้ความร้อน, Mechanical bolt หรือ เชื่อมแบบเชิงกล
Butt fusion คือการเชื่อมแบบที่นิยมใช้กันมาก โดยหลักการคือให้ความร้อนไปที่ปลายท่อแล้วนำปลายท่อประกบเข้าด้วยกันจนทั้งสองฝั่งหลอมเป็นเนื้อเดียวกันภายใต้ อุณหภูมิ แรงดัน เวลา
Electrofusion เป็นวิธีการเชื่อมแบบใช้อุปกรณ์ข้อต่อสำเร็จรูปที่ขึ้นรูปแบบฉีด หรือ injection molding แล้วมีขดลวดอยู่ภายในสำหรับผ่านกระแสไฟฟ้า ผ่านขั้วบวก และ ขั้วลบ เพื่อให้เกิดความร้อนและหลอมละลายของเนื้ออุปกรณ์เข้ากับตัวท่อ ภายใต้อุณหภูมิ เวลา และ ขนาดที่เข้ากัน
Compression fittings คือข้อต่อแบบสวมอัดโดยไม่ต้องใช้ความร้อน เพียงแค่นำปลายท่อสวมเข้ากับข้อต่อแล้วแค่หมุนเกลียวเข้าหากันให้แน่น โดยส่วนใหญ่ compression fittings จะใช้งานกับท่อที่มีขนาดไม่เกิน 110 มม และรับแรงดันไม่สูง
Socket fusion เป็นวิธีการเชื่อมแบบใช้อุปกรณ์ข้อต่อสำเร็จรูปที่ขึ้นรูปแบบฉีด หรือ injection molding โดยใช้เบ้าสวมที่ปลายท่อ และให้ความร้อนที่ปลายท่อก่อนจะปล่อยให้เชื่อมกันภายในข้อต่อ โดยมีข้อต่อ socket fusion เป็นตัวรัดปลายท่อทั้งสองไว้อีกทีหนึ่ง จะใช้งานกับท่อที่มีขนาดไม่เกิน 110 มม และเป็นอุปกรณ์รับแรงดันได้ดี
Mechanical Bolt หรือ การเชื่อมแบบเชิงกล คือการใช้ สกรู หรือ น๊อตมายึดปลายท่อทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกัน โดยวิธีนี้เหมาะกับใช้ยึดท่อคนละชนิดเช่น ท่อ พีอีกับ ท่อพีวีซี หรือ ท่อพีอี กับ ท่อเหล็ก เป็นต้น
ท่อ HDPE ผลิตจาก high density polyethylene หรือ พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง ซึ่งมีคุณสมับติที่ทนต่อสภาพแวดล้อมสูงมาก สามารถนำไปใช้งานได้ยาวนานเลยทีเดียว
MT-PVC
Modified Toughness Unplasticized Polyvinyl Chloride Pipe
ท่อพีวีซีปากระฆังชนิดเหนียว MT-PVC ชั้นคุณภาพ 10.5 เป็นท่อพีวีซีชนิดใหม่ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือกันระหว่าง กปน. กับ กลุ่มบริษัทผู้ผลิตท่อพีวีซีชั้นนำ